Saturday, September 22, 2012

ทำไมสีถึงผสมน้ำได้ .

1. สีที่ผสมน้ำมันหลายๆ ชนิด ใช้ ทินเนอร์ แบบเดียวกันได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้เนื่องจาก Resin หรือพลาสติก แต่ละชนิดมีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน เช่นเดียวกับ ทินเนอร์ แต่ละชนิดจะสามารถทำละลายพลาสติกต่างชนิดกันไป และสีบางชนิดเช่น Epoxy และ Polyurethane เมื่อแข็งตัวจะไม่ละลายในทินเนอร์ใดๆ วิธีที่ถูกต้อง การใช้ทินเนอร์ ผสมสีให้ใช้ตามชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำ เนื่องจากเราใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ประมาณไม่เกิน 15%) ส่วนการล้างเครื่องมือต่างๆ นั้นให้เลือกใช้ทินเนอร์ทั่วๆไปที่สามารถทำงานได้

2. สีหลายชนิดมักจะระบุวิธิใช้ว่าสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องผสมทินเนอร์หรือน้ำ การผสมน้ำหรือทินเนอร์ จะมีปัญหาอะไรหรือไม่
ตอบ การพิจารณาการผสมทินเนอร์หรือน้ำนั้นอยู่กับเงื่อนไขของการใช้งาน เพราะหน้างานจะมีปัจจัยของสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ กระแสลม ล้วนมีผลต่อความข้นหนืดของสี ซึ่งทำให้การทามีปัญหาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาสีเหนียว ทาไม่ลื่นแปรง เราจึงต้องปรับเติมตัวเจือจาง (ทินเนอร์) ตามความเหมาะสม และต้องระวังให้เติมจากทีละน้อย เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้สีเหลวจนมือเราใช้ทาจะเกิดสีย้อยวิ่งเป็นทางได้

3. ทำไมสีถึงผสมน้ำได้?
ตอบ โดยที่มาของ Resin หรือสารพลาสติกทุกตัวจะอยู่ในสภาพของของเหลวก็ด้วยการผสมน้ำมัน หรือ Solvent (สารระเหย) ตัวใดตัวหนึ่ง การที่ของเหลวนี้จะสามารถใช้น้ำปรับความข้นเหลวได้ จะต้องมีสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า Emulsifier หรือตัวเชื่อมน้ำกับน้ำมัน เหมือแชมพูหรือสบู่ที่ทำหน้าที่จับไขมันบนร่างกายเรากับน้ำ ทำให้ไขมันสามารถชะล้างด้วยน้ำได้ นี่คือที่มาของคำเรียกสีน้ำพลาสติกอิมัลชั่น (Plastic Emulsion Paint)

4. สีจะแห้งและเป็นฟิล์มได้อย่างไร?
ตอบ
สีจะแห้งตัวและก่อเป็นฟิล์มได้ 5 วิธีด้วยกัน
1. การละเหยของตัวทำละลายคือ น้ำหรือน้ำมัน (Evaporation) สีน้ำพลาสติก, แลคเกอร์
2. การทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (Oxidation) สีน้ำมัน Alkyd Enamel
3. การทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ (Moisture Cure) Polyurethane ทาปาร์เกท์
4. การทำปฏิกิริยาระหว่างสารเคมีในเนื้อสี (2K, 3K) Polyurethane 2K ทาปาร์เกท์
5. การอบด้วยความร้อน (Baking Enamel)

วิธีที่ 1-3 เป็นวิธีที่สีใน 3 กลุ่มนี้ไม่สามารถทาหนาๆ ในเที่ยวเดียวได้ เนื่องจากปฏิกิริยาการแข็งตัวจะเกิดที่ผิวฟิล์มก่อนถ้าสีที่ทาหนาเกินไป ผิวสีที่แข็งจะปิดกั่นไม่ให้เนื้อสีข้างใต้แข็งตัวได้ ทำให้เกิดการย่นตัวของฟิล์มสีที่ทาไว้
ด้วยวิธีที่ 4-5 จึงเป็นการค้นคิดวิธีที่จะสามารถทาสีให้หนามากๆ ได้ในเที่ยวเดียวด้วยการใช้การทำปฏิกิริยาให้แข็งตัวในเนื้อสีเอง สีเหล่านี้จึงต้องแยกเป็น 2 ส่วน (ที่เราเรียกกันว่า 2K ที่มีมาจากคำว่า 2 Component) คือส่วนที่เป็นเนื้อสีกับส่วนผสมที่ให้เกิดการแข็งตัว (Hardener หรือ Catalyst) เมื่อผสมเข้าด้วยกันแล้วจะต้องใช้งานภายในระยะเวลาที่กำหนด เพราะถ้าเกินระยะเวลาสีจะแข็งตัวไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ สีบางชนิดเช่น Polyester จะต้องมีตัวเร่งเสริมอีกส่วนหนึ่งรวมเป็น 3 ส่วน (3K)

5. สีแต่ละยี่ห้อติดฉลากว่าเป็นประเภทเดียวกันทำไมราคาแตกต่างกัน
ตอบ วัตถุดิบแต่ละตระกูลที่กล่าวมาทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นตระกูลเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Acrylic ก็ยังมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสูตรที่ผลิตที่พัฒนาให้ทนทานกว่า ยึดเกาะดีกว่า เป็นต้น ราคจึงไม่เท่ากัน

No comments:

Post a Comment